Tata Steel ได้เริ่มต้นการหารือกับเหมืองแร่ที่ดำเนินการโดยรัฐ อย่าง NMDC และ Odisha Mining Corporation (OMC) เพื่อรักษาแหล่งแร่เหล็กในอนาคต เนื่องจากบริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กในประเทศ
นอกจากนี้ Tata Steel จะดำเนินการเหมืองเหล็กใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ Kalamang West และ Gandalpada ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อประกันความปลอดภัยของวัตถุดิบ โดยทาง DB Sundara Ramam รองประธานฝ่ายวัตถุดิบของบริษัท กล่าวกับ PTI
ปัจจุบัน Tata Steel ตอบสนองความต้องการแร่เหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเหล็ก จากเหมืองแร่เหล็ก 6 แห่ง ที่ดำเนินการโดยบริษัท ในเมือง Odisha และ Jharkhand
Ramam กล่าวว่า แผนการจัดหาวัตถุดิบได้รับถูกแบ่งออกเป็นสัญญาเช่าเหมือง 4 แห่ง ได้แก่ เหมืองแร่เหล็ก Noamundi (เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 1925) Katamati และ Kondbond (ตั้งแต่ปี 1933) และ Joda East (1956) ซึ่งจะหมดอายุในเดือนมีนาคม 2030
ในขณะที่เหมืองอีกสองแห่งที่ NINL (Mithirda) และ Vijay II ที่จะยังคงเปิดดำเนินการต่อไป โดยพร้อมกับการเข้าซื้อโรงงาน RINL และธุรกิจเหล็กของ Usha Martin เขากล่าว
“เรามีแผนพร้อมแล้ว” Ramam กล่าว เมื่อถูกถามเกี่ยวกับ road map ของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทานเหล็ก เนื่องจากคาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กในประเทศ เป็น 40 ล้านตันต่อปี (MTPA) ภายในปี 2030 จาก ในปัจจุบันที่ 22 ล้านตันต่อปี (MTPA)
Tata Steel ผลิตแร่เหล็ก (iron ore) ได้ 38 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2024 และ 2025 ซึ่งมีแผนจะผลิต 41 ล้านตัน สำหรับผลผลิตเหล็กที่วางแผนไว้ 40 ล้านตัน บริษัทจะต้องมีแร่เหล็กมากกว่า 60 ล้านตัน
รองประธานกล่าวว่า บริษัทกำลังมองหาที่จะเริ่มดำเนินการที่เหมืองแร่เหล็ก Kalamang ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณนี้ และ Gandalpada ภายในปี 2029 เพราะหลังจากปีนั้น เหมือง 4 แห่งถูกประมูล
“เราไม่แน่ใจว่าเราจะได้เหมืองเหล่านั้นมาหรือไม่ นั่นเป็นเหตุผลที่เราจะเริ่มการผลิต Gandalpada ในปีงบประมาณ 2029 เผื่อว่าเหมืองอื่นๆ อยู่ภายใต้การประมูล และอาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เหมืองเหล่านั้นจะผลิตได้ทั้งหมด 10 ล้านตัน” เขากล่าว
รองประธานกล่าวว่า ปริมาณสำรองทั้งหมดของเหมือง Kalamang และ Gandalpada จะอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านตัน
เขากล่าวว่า Kalamang และ Gandalpada พร้อมด้วย NINL (Mithirda) และ Vijay II จะสามารถสนับสนุนความต้องการแร่เหล็ก ของ Tata Steel ได้ร้อยละ 50
นอกจากนี้ Tata Steel ยังได้พูดคุยกับ NMDC และ OMC เพื่อจัดเตรียมความต้องการที่มีอยู่ในอนาคต Ramam กล่าว
“เรากำลังพยายามพูดคุยกับ OMC และ NMDC เพื่อซื้อแร่เพิ่ม ทีมจัดซื้อของเราได้พบทั้งสองคนแล้ว พวกเขายังมั่นใจว่าพวกเขาจะให้แร่เหล็กแก่เรา” เขากล่าว
NMDC และ OMC แบ่งปันเรื่องของแผนคร่าวๆ สำหรับความต้องการแร่เหล็กโดยประมาณ เพื่อให้สามารถจัดเตรียมปริมาณตามที่ต้องการ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการจัดหาได้ทันเวลา เขากล่าว
Tata Steel ดำเนินกิจการโรงงานเหล็กแห่งแรกและเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่เมือง Jamshedpur ในรัฐ Jharkhand โดยมีกำลังการผลิต 11 ล้านตันต่อปี
เมื่อเดือนกันยายนของปีนี้ บริษัทได้เริ่มดำเนินการสร้างเตาถลุงเหล็ก (blast furnace) ที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียที่โรงงาน Kalinganagar ในเมือง Odisha เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงานเป็น 8 ล้านตันต่อปี
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตของ Tata Steel ในอินเดียเพิ่มขึ้น ด้วยการซื้อกิจการ Bhusan Steel (5.6 ล้านตัน) และ NINL (1 ล้านตัน) ในเมือง Odisha และธุรกิจเหล็กของ Usha Martin (1 ล้านตัน) ในรัฐ Jharkhand
บริษัทมีเป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน น้ำมันและก๊าซ การต่อเรือ และการป้องกันประเทศ
-- The Economic Times